top of page

“สถานที่นี้เหมาะสำหรับ

ผู้สนใจภาวนา

เพราะเป็นป่า เป็นเขา

สงบสงัด”

-หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน-

“สถานที่นี้เหมาะสำหรับผู้สนใจภาวนา

เพราะเป็นป่า เป็นเขา สงบสงัด”

-หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน-

วัดป่านาคำน้อย

เดิมชื่อ วัดอุดมมงคลวนาราม เป็นนามที่ได้รับเมตตาจาก องค์หลวงตาพระมหาบัว ซึ่งต่อมาทางราชการมีแนวคิด กับการตั้งชื่อวัด 
ให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้านที่ตั้งของวัด

จึงได้ใช้นามว่า “วัดป่านาคำน้อย”
ดั่งเช่นในปัจจุบัน

สถานที่ตั้งวัด :

หมู่ที่ ๗ บ้านนาคำน้อย ต. บ้านก้อง อ.นายูง

จ. อุดรธานี รหัสไปรษณีย์ ๔๑๓๘๐

มีพื้นที่   : ๑,๓๕๐ ไร่

ผู้ก่อตั้ง : หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก

วัดป่านาคำน้อย

วัดป่านาคำน้อย เดิมชื่อ วัดอุดมมงคลวนาราม เป็นนามที่ได้รับเมตตาจาก

องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ซึ่งต่อมาทางราชการมีแนวคิด

เกี่ยวกับการตั้งชื่อวัดให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้านที่ตั้งของวัด

จึงได้ใช้นามว่า “วัดป่านาคำน้อย” ดั่งเช่นในปัจจุบัน

สถานที่ตั้งวัด : หมู่ที่ ๗ บ้านนาคำน้อย ตำบลบ้านก้องอำเภอนายูง

                   จังหวัดอุดรธานี รหัสไปรษณีย์ ๔๑๓๘๐

มีพื้นที่  : ๑,๓๕๐ ไร่

ผู้ก่อตั้ง : หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก

วัดป่านาคำน้อย

วัดป่านาคำน้อย เดิมชื่อ วัดอุดมมงคลวนาราม เป็นนามที่ได้รับเมตตาจาก

องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ซึ่งต่อมาทางราชการมีแนวคิด

เกี่ยวกับการตั้งชื่อวัดให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้านที่ตั้งของวัด

จึงได้ใช้นามว่า “วัดป่านาคำน้อย” ดั่งเช่นในปัจจุบัน

สถานที่ตั้งวัด : หมู่ที่ ๗ บ้านนาคำน้อย ตำบลบ้านก้องอำเภอนายูง

                   จังหวัดอุดรธานี รหัสไปรษณีย์ ๔๑๓๘๐

มีพื้นที่  : ๑,๓๕๐ ไร่

ผู้ก่อตั้ง : หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก

ข้อมูลการเดินทาง
1.ทางรถยนต์ : จากตัวเมืองอุดรธานี ออกทางหลวงหมายเลข 2 มุ่งหน้าไป จ.หนองคาย ถึงหลัก กม. ที่ 13 บ้านดงไร่

แยกซ้ายไป อ.บ้านผือ เดินทางจาก อ.บ้านผือ สู่ อ.นายูง รวมระยะทางประมาณ 113 กม.
ตรวจสอบเส้นทาง Google Map https://bit.ly/3qnbeAV

2.ทางรถทัวร์ : มีรถปรับอากาศชั้น 1 จากสถานีขนส่งหมอชิตผ่านหน้าวัด บริษัท สวัสดีอีสาน เส้นทาง กรุงเทพฯ- อ.นายูง
ตรวจสอบเส้นทาง https://bit.ly/3mzSFbz

3.รถไฟ : มีการเดินรถระหว่าง กรุงเทพฯ-อุดรฯ ไป-กลับทุกวัน

ตรวจสอบตารางการเดินทาง https://bit.ly/3qmPYve

4.เครื่องบิน : ตรวจสอบกับสายการบินก่อนเดินทาง

5. รถเช่า : จากจังหวัดอุดรธานีไปวัดป่านาคำน้อย มีระยะทางประมาร ๑๑๗ กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.55 ชม. มีรถให้บริการทั้งแบบเช่าขับเอง และแบบเช่า พร้อมคนขับ (สำนักงานการท่องเที่ยวอุดรธานี โทร 042-325-406-7)

เพิ่มเติม >

ข้อมูลการเดินทาง
1.ทางรถยนต์ : จากตัวเมืองอุดรธานี ออกทางหลวงหมายเลข 2 มุ่งหน้าไป จ.หนองคาย ถึงหลัก กม. ที่ 13 บ้านดงไร่

แยกซ้ายไป อ.บ้านผือ เดินทางจาก อ.บ้านผือ สู่ อ.นายูง รวมระยะทางประมาณ 113 กม.
ตรวจสอบเส้นทาง Google Map https://bit.ly/3qnbeAV

2.ทางรถทัวร์ : มีรถปรับอากาศชั้น 1 จากสถานีขนส่งหมอชิตผ่านหน้าวัด บริษัท สวัสดีอีสาน เส้นทาง กรุงเทพฯ- อ.นายูง
ตรวจสอบเส้นทาง https://bit.ly/3mzSFbz

3.รถไฟ : มีการเดินรถระหว่าง กรุงเทพฯ-อุดรฯ ไป-กลับทุกวัน

ตรวจสอบตารางการเดินทาง https://bit.ly/3qmPYve

4.เครื่องบิน : ตรวจสอบกับสายการบินก่อนเดินทาง

5. รถเช่า : จากจังหวัดอุดรธานีไปวัดป่านาคำน้อย มีระยะทางประมาร ๑๑๗ กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.55 ชม. มีรถให้บริการทั้งแบบเช่าขับเอง และแบบเช่า พร้อมคนขับ (สำนักงานการท่องเที่ยวอุดรธานี โทร 042-325-406-7)

เพิ่มเติม >

ภายในบริเวณวัด

สภาพป่าภายในบริเวณวัดเป็นป่าที่สมบูรณ์ประมาณ ๖๐๐ ไร่ แต่ได้รับการปลูกเสริมเพิ่มเติม เช่น สัก ประดู่ มะค่า ยาง กระบาก ตะแบก ตะเคียนทอง เป็นต้น ปัจจุบันได้ปลูกเสริมจนเต็มพื้นที่ จึงสามารถมองเห็นสภาพป่าดั้งเดิมและปลูกเสริมใหม่เจริญเติบโตร่วมกัน

สัตว์ป่าภายในวัด

เนื่องจากพื้นที่นี้แต่เดิมเป็นป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์ จึงมีสัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่ เช่น หมูป่า กระรอก ค่าง ลิง ชะนี งูจงอาง งูเห่า เหี้ย กระจง นิ่ม และนกชนิดต่าง ๆ

สิ่งปลูกสร้ายภายในวัด

ภายในวัดประกอบไปด้วยสิ่งปลูกสร้างสำคัญหลักๆเช่น ศาลาอเนกประสงค์ ขนาด ๒ ชั้น พื้นที่กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๒๔ เมตร เป็นสถานที่ที่พระสงฆ์ใช้ทำสังฆกรรม เป็นที่ฉันภัตตาหาร เป็นที่บำเพ็ญกุศลในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น ศาลาศาลาพุทธอุดมมงคลธรรมสังฆสามัคคี เป็นศาลาชั้นเดียว ยกพื้น สร้างบริเวณตรงข้ามกับวัด หรือสวนลำไย สร้างขึ้นเพื่อลดความแออัดและรองรับศรัทธาญาติโยมที่มาวัดเพิ่มมากขึ้น และเป็นสถานที่จัดงานสำคัญๆ ของวัด เช่น งานทำบุญรวมญาติ ตักบาตรวันมาฆบูชา งานถวายมุทิตาสักการะวันคล้ายวันเกิดองค์หลวงพ่อ  ในวันที่ ๒๗ เมษายน ของทุกปี รวมถึงงานกฐินสามัคคี

 

นอกจากนี้ภายในวัดยังมีกุฏิถาวร ประมาณ ๑๕ หลัง และร้านพักพระประมาณ ๔๐ หลัง โรงน้ำร้อน โรงครัว และที่พักฝ่ายอุบาสก อุบาสิกาจำนวน รวม ๑๔ หลัง และถนนคอนกรีตเชื่อมโยงภายในวัดรวมเส้นทางกว่า ๔ กม.

ภายในบริเวณวัด

สภาพป่าภายในบริเวณวัดเป็นป่าที่สมบูรณ์ประมาณ ๖๐๐ ไร่ แต่ได้รับการปลูกเสริมเพิ่มเติม เช่น สัก ประดู่ มะค่า ยาง กระบาก ตะแบก ตะเคียนทอง เป็นต้น ปัจจุบันได้ปลูกเสริมจนเต็มพื้นที่ จึงสามารถมองเห็นสภาพป่าดั้งเดิมและปลูกเสริมใหม่เจริญเติบโตร่วมกัน

สัตว์ป่าภายในวัด

เนื่องจากพื้นที่นี้แต่เดิมเป็นป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์ จึงมีสัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่ เช่น หมูป่า กระรอก ค่าง ลิง ชะนี งูจงอาง งูเห่า เหี้ย กระจง นิ่ม และนกชนิดต่าง ๆ

สิ่งปลูกสร้ายภายในวัด

ภายในวัดประกอบไปด้วยสิ่งปลูกสร้างสำคัญหลักๆเช่น ศาลาอเนกประสงค์ ขนาด ๒ ชั้น พื้นที่กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๒๔ เมตร เป็นสถานที่ที่พระสงฆ์ใช้ทำสังฆกรรม เป็นที่ฉันภัตตาหาร เป็นที่บำเพ็ญกุศลในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น ศาลาศาลาพุทธอุดมมงคลธรรมสังฆสามัคคี เป็นศาลาชั้นเดียว ยกพื้น สร้างบริเวณตรงข้ามกับวัด หรือสวนลำไย สร้างขึ้นเพื่อลดความแออัดและรองรับศรัทธาญาติโยมที่มาวัดเพิ่มมากขึ้น และเป็นสถานที่จัดงานสำคัญๆ ของวัด เช่น งานทำบุญรวมญาติ ตักบาตรวันมาฆบูชา งานถวายมุทิตาสักการะวันคล้ายวันเกิดองค์หลวงพ่อ  ในวันที่ ๒๗ เมษายน ของทุกปี รวมถึงงานกฐินสามัคคี

 

นอกจากนี้ภายในวัดยังมีกุฏิถาวร ประมาณ ๑๕ หลัง และร้านพักพระประมาณ ๔๐ หลัง โรงน้ำร้อน โรงครัว และที่พักฝ่ายอุบาสก อุบาสิกาจำนวน รวม ๑๔ หลัง และถนนคอนกรีตเชื่อมโยงภายในวัดรวมเส้นทางกว่า ๔ กม.